วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เมนสวิตช์ (main switch)



เมนสวิตช์
เป็นอุปกรณ์ตัวหลักที่ใช้ตัดต่อวงจรไฟฟ้าของสายเมนเข้าอาคารกับสายภายในทั้ง หมด จึงเป็นอุปกรณ์สับ-เปลี่ยนวงจรไฟฟ้าตัวแรกถัดจากมิเตอร์วัดหน่วยไฟฟ้าเข้ามา ในบ้าน เมนสวิตช์อาจเป็นอุปกรณ์ตัดไฟหลักตัวเดียว      หรือจะอยู่รวมกับอุปกรณ์อื่นๆในตู้แผงสวิตช์

สวิตช์ตัดไฟอัตโนมัติ (Circuit breakers)


สวิตช์ตัดไฟอัตโนมัติ (เซอร์กิตเบรคเกอร์)
เป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้ตัดหรือต่อวงจรไฟฟ้าได้ในขณะใช้งานปกติ และยังสามารถตัดกระแสไฟฟ้าเกินหรือกระแสไฟฟ้าลัดวงจรโดยอัตโนมัติได้ด้วย ทั้งนี้การเลือกใช้เบรกเกอร์จะต้องเลือกขนาดพิกัดในการตัดกระแส
ลัดวงจร (IC) ของเบรกเกอร์ให้สูงกว่าขนาดกระแสลัดวงจรที่เกิดขึ้นในวงจรนั้นๆ

ฟิวส์ (Fuse)



ฟิวส์ (Fuse)
เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินชนิดหนึ่งทำหน้าที่ตัดไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเกินค่าที่กำหนด ซึ่งเมื่อฟิวส์ทำงานแล้วจะต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ ฟิวส์ที่ใช้เปลี่ยนต้องมีขนาดกระแสไม่เกินขนาดฟิวส์เดิม และต้องมีขนาดพิกัดการตัดกระแสลัดวงจร (IC) สูงกว่าขนาดกระแสลัดวงจรสูงสุดที่ไหลผ่านฟิวส์

เครื่องตัดไฟรั่วหรือเครื่องตัดวงจร (residual-current)


เครื่องตัดไฟรั่วหรือเครื่องตัดวงจร
เมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินเป็นสวิตช์อัตโนมัติที่สามารถปลดวงจรเมื่อมี กระแสไฟฟ้ารั่วได้อย่างรวดเร็วภายใน
ระยะเวลาที่กำหนดไว้เครื่องตัดไฟรั่วมัก จะเป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อใช้ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด โดยเฉพาะจะ
ใช้ได้ดีเมื่อใช้กับระบบไฟฟ้าที่มีสายดินอยู่แล้วและจะช่วย ป้องกันอัคคีภัยจากไฟฟ้ารั่วได้อีกด้วย เครื่องตัดไฟรั่วนี้
จะต้องมีปุ่มสำหรับกดเพื่อทดสอบการทำงานอยู่เสมอ

หลักดิน (Ground Rod)



หลักดิน (Ground Rod หรือ Grounding Electrode หรือ Earth Electrode)
เป็นแท่งหรือแผ่นโลหะที่ฝังอยู่ในดิน เพื่อทำหน้าที่แพร่หรือกระจายประจุไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าให้ไหลลงสู่ดินได้โดย สะดวก วัตถุที่จะนำมาใช้เป็นหลักดิน เช่น แท่งทองแดงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร (5/8 นิ้ว)
ความยาวมาตรฐานต้องยาวไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร เป็นต้น

ตุ้มหรือลูกถ้วย (insulator)




ตุ้มหรือลูกถ้วย
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้รองรับสายไฟ ทำหน้าที่เป็นฉนวนและป้องกันมิให้กระแสไฟฟ้ารั่วลงดินหรือลัดวงจรลงดิน

มิเตอร์ไฟฟ้า (electric meters)


มิเตอร์ไฟฟ้า

เป็นเครื่องวัดพลังงานไฟฟ้าที่เราใช้ในเดือนหนึ่ง ๆ โดยมีมอเตอร์ที่มาตรไฟฟ้าคอยหมุนตัวเลขบอกค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปเป็นกี่ กิโลวัตต์/ชั่วโมง หรือยูนิต หรือหน่วย

สายไฟฟ้า (Cable)


1. สายไฟฟ้า
การเลือกใช้สายไฟฟ้า
 1.1 ใช้เฉพาะสายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มีเครื่องหมาย มอก.11) เท่านั้น
 1.2 สายไฟฟ้าชนิดที่ใช้เดินภายในอาคารห้ามนำไปใช้เดินนอกอาคาร เพราะแสงแดดจะทำให้ฉนวนแตกกรอบชำรุด สายไฟชนิดที่ใช้เดินนอกอาคารมักจะมีการเติมสารป้องกันแสงแดดไว้ในเปลือกหรือ ฉนวนของสาย สารป้องกันแสงแดดส่วนใหญ่ที่ใช้กันมากนั้นจะเป็นสีดำ แต่อาจจะเป็นสีอื่นก็ได้ การเดินร้อยในท่อก็มีส่วนช่วยป้องกันฉนวนของสายจากแสงแดดได้ในระดับหนึ่ง
  1.3 เลือกใช้ชนิดของสายไฟให้เหมาะสมกับสภาพการติดตั้งใช้งาน เช่น สายไฟชนิดอ่อนห้ามนำไปใช้เดินยึดติดกับผนังหรือลากผ่านบริเวณที่มีการกดทับ สาย เช่น ลอดผ่านบานพับประตูหน้าต่าง หรือตู้ เนื่องจากฉนวนของสายไม่สามารถรับแรงกดกระแทกจากอุปกรณ์จับยึดสายหรือบานพับ ได้ การเดินสายใต้ดินก็ต้องใช้ชนิดที่เป็นสายใต้ดิน (เช่น สายชนิด NYY) พร้อมทั้งมีการเดินร้อยในท่อเพื่อป้องกันสายใต้ดินไม่ให้เสียหาย เป็นต้น
   1.4 ขนาดของสายไฟฟ้า ต้องใช้สายตัวนำทองแดงและเลือกให้เหมาะสมกับขนาดแรงดันไฟฟ้า(1 เฟส หรือ 3 เฟส) ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้งาน และสอดคล้องกับขนาดของฟิวส์หรือสวิตช์อัตโนมัติ (เบรกเกอร์) ที่ใช้ สำหรับขนาดสายเมนและสายต่อหลักดินนั้นก็ต้องสอดคล้องกับขนาดของเมนสวิตช์และ ขนาดของเครื่องวัดฯ ด้วย ตามตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 ขนาดสายไฟฟ้าตามขนาดของเมนสวิตช์



    1.5 ขนาดของสายต่อหลักดิน ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าที่กำหนดไว้ในตารางต่อไปนี้


หมายเหตุ การเลือกขนาดสายต่อหลักดิน โดยพิจารณาจากขนาดตัวนำประธาน (สายเมน) ของระบบไฟฟ้า

     1.6 มาตรฐานสีของฉนวนไฟฟ้า